bắn cá long vương download

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และองค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer หรือ IARC) ได้เผยแพร่ตัวเลขแสดงสถานการณ์โรคมะเร็งทั่วโลก และการสำรวจสิทธิประโยชน์ด้านมะเร็งใน 115 ประเทศ

โดยในปี 2565 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 20 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 9.7 ล้านคน ส่วนผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่ในระยะเวลา 5 ปีหลังการวินิจฉัยพบเชื้อมะเร็ง มีอยู่ประมาณ 53.5 ล้านคน โรคมะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับประชากร 1 ใน 5 คน ในเพศชายพบผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1 ใน 9 คน และเพศหญิง 1 ใน 12 คน

ข้อมูลจาก Global Cancer Observatory ในปี 2565 ชี้ว่า มีมะเร็ง 10 จาก 36 ประเภทที่เป็นสาเหตุสาเหตุหลักของการเกิดผู้ป่วยรายใหม่และการเสียชีวิต เป็นอัตราส่วน 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลก

มะเร็งปอดพบมากที่สุด ด้วยจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 2.5 ล้านคนต่อปี คิดเป็น 12.4% ของผู้ป่วยใหม่ทั้งหมด ตามด้วยมะเร็งเต้านม (2.3 ล้านราย หรือ 11.6%) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (1.9 ล้านราย หรือ 9.6%) มะเร็งต่อมลูกหมาก (1.5 ล้านราย หรือ 7.3%) และมะเร็งกระเพาะอาหาร (970,000 ราย หรือ 4.9%) มะเร็งปอดยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากมะเร็งมากที่สุดในโลก มีผู้เสียชีวิต 1.8 ล้านคน หรือ 18.7% ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั้งหมด ตามด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ (900,000 คน หรือ 9.3%) มะเร็งตับ (760,000 คน หรือ 7.8%) มะเร็งเต้านม (670,000 คน หรือ 6.9%) และมะเร็งกระเพาะอาหาร (660,000 คน หรือ 6.8%) การขยายตัวของผู้ป่วยมะเร็งปอดน่าจะเกิดจาการใช้ยาสูบอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยเพศชายและหญิง มะเร็งปอดเป็นชนิดมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย ตามด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด มะเร็งเต้านมเป็นประเภทมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด ตามด้วยมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูกเป็นภัยคุกคามสำหรับผู้หญิงเช่นกัน จัดอยู่ในลำดับที่ 8 ของประเภทมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลก และลำดับ 9 ของประเภทมะเร็งที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุด โดยมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 661,044 ราย และผู้เสียชีวิต 348,186 ราย ในปี 2565 มะเร็งปากมดลูกยังเป็นประเภทมะเร็งที่พบมากใน 25 ประเทศ โดยเฉพาะในแถบแอฟริกา อย่างไรก็ดี มะเร็งชนิดนี้สามารถป้องกันได้ผ่านการขยายมาตรการอย่างการฉีดวัคซีนต้านเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านโรคมะเร็ง นอกจากจะเป็นภัยต่อสุขภาพแล้ว มะเร็งยังสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ เช่นในกรณีของมะเร็งเต้านม ประเทศที่มีค่าดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์สูง ส่วนมาเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ประชากรจะสามารถเข้าถึงการวินิจฉัยโรคได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ 1 ใน 12 ของผู้หญิงได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรค และ 1 ใน 71 ของผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรค แต่ในประเทศที่มีค่าดัชนี้ชี้วัดการพัฒนามนุษย์ต่ำ มีเพียง 1 ใน 27 ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมและ 1 ใน 48 ผู้หญิงเสียชีวิตจากโรค "ผู้หญิงในประเทศที่มีค่าดัชนี้ชี้วัดการพัฒนามนุษย์ต่ำ มีโอกาสได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมน้อยกว่าครึ่งของผู้หญิงในประเทศที่มีค่าดัชนี้ชี้วัดการพัฒนามนุษย์สูง ทั้งยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตจากโรคอีกด้วย เพราะได้รับการวินิจฉัยช้า และไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพเพียงพอ" พญ.อิซซาเบล โซเอนจอมาทีเรียม (Isabelle Soerjomataram) รองหัวหน้าฝ่ายสืบสวนมะเร็ง ประจำ IARC กล่าว นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกทำการสำรวจสิทธิประโยชน์สุขภาพในประเทศต่างๆ พบว่ามีความเหลื่อมล้ำในการให้บริการด้านมะเร็งค่อนข้างสูง มีเพียง 39% ของประเทศสมาชิกมีระบบสุขภาพที่ครอบคลุมการจัดการมะเร็งภายใต้สิทธิประโยชน์ที่เข้าถึงได้โดยประชากรทุกคน และมีเพียง 28% ของประเทศสมาชิกที่จัดระบบการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย บริการที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดมีแนวโน้มบรรจุเข้าสิทธิประโยชน์ในประเทศที่มีรายได้สูง มากกว่าประเทศรายได้ต่ำ 4-7 เท่า เช่นเดียวกับบริการฉายรังสีที่ประเทศรายได้สูงบรรจุสิทธิประโยชน์นี้มากกว่า 4 เท่า และบริการปลูกเสตมเซลล์ 12 เท่า "การสำรวจนี้เผยให้เห็นความเหลื่อมล้ำ และการขาดความคุ้มครองทางการเงินในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศรายได้ต่ำที่ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลรักษาโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน" นพ.เบนเต มิกเคิลเซน (Bente Mikkelsen) ผู้อำนวยการฝ่ายโรคไม่ติดเชื้อ ประจำองค์การอนามัยโลก กล่าว "เรากำลังทำงานอย่างหนักร่วมกับรัฐบาลมากกว่า 75 ประเทศ เพื่อพัฒนานโยบายสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ทุกคนเข้าถึงได้ การลงทุนในบริการด้านนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ”

ผู้ป่วยมะเร็งพุ่งในอีก 25 ปีข้างหน้า

ในปี 2593 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากกว่า 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 77% จากจำนวนผู้ป่วย 20 ล้านรายในปี 2565 แน่นอนว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งจะก่อให้เกิดภาระกับประเทศ และสะท้อนการแพร่กระจายของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคอย่างบุหรี่ แอลกอฮอล์ โรคอ้วน และมลพิษทางอากาศ ในกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง หรือกลุ่มแระเทศรายได้สูง คาดการณ์ว่าอัตราการเป็นโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอีก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ 4.8 ล้านรายในปี 2593 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในปี 2565 ส่วนกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำและปานกลาง เพิ่มขึ้นถึง 142% และ 99% ตามลำดับ ขณะที่การเสียชีวิตจากมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในกลุ่มประเทศนี้ "แต่ละประเทศจะรับรู้ผลกระทบจากอัตราการเป็นโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน ประเทศที่มีทรัพยากรน้อยจะได้รับผลกระทบมากที่สุด" นพ. เฟรดดี้ เบรย์ (Freddie Bray) หัวหน้าฝ่ายสืบสวนมะเร็งประจำองค์กร IARC

ด้าน นพ.แครี อดัม (Cary Adams) หัวน้าสหภาพควบคุมมะเร็งนานาชาติ (Union for International Cancer Control) ให้ความเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำจะรู้สึกได้ทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ

“สถานที่ที่เกิดไม่ควรกำหนดความเป็นความตายของคน ตอนนี้เรามีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้รัฐบาลกำหนดนโยบายการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง และเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง นี่ไม่ใช่เพียงเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการให้คำมั่นสัญญาทางการเมืองด้วย.   อ้างอิง: 
live casino online 888 casino online dragon tiger casino online sport casino online cá cược thể thao châu á