bắn cá long vương download

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

‘ระบบการเชื่อมโยงข้อมูล’ นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งต่อข้อมูล เพื่อการให้บริการดูแลรักษาประชาชนภายใต้นโยบาย ‘30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว’ สามารถเกิดขึ้นจริงได้ตามชื่อนโยบาย

ที่สำคัญเมื่อมีคำว่า ‘ไปได้ทุกที่’ นั่นหมายถึงในการเชื่อมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการรักษาระหว่างหน่วยบริการและผู้เกี่ยวข้องนั้น ต้องมีความเป็นเนื้อเดียวกันอย่างไร้รอยต่อ เพราะหากเกิดขึ้นเพียงที่ใดที่หนึ่งก็ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่รัฐบาลภายใต้การนำของ เศษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน ประกาศเอาไว้ 

ทว่า การจะทำแบบนั้นได้ไม่ใช่เรื่องง่าย และมีความพยายามในการจัดการระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพนี้มาตั้งแต่ในช่วงรัฐบาลก่อนหน้าแล้ว 

หนึ่งในนั้นคือ การตั้งโครงการ ‘Big Rock’ ภายใต้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ที่มีการพูดถึงการทำงานด้านการ ‘เชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล’ อันเป็นความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) 

อีกทั้งยังมีการตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล โดยกำหนดให้ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานจากการแต่งตั้ง เพื่อมาดูแลเรื่องระบบสุขภาพดิจิทัล และการเชื่อมข้อมูลด้วย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของเส้นทางก่อนที่ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจะเป็นภาพในปัจจุบัน แต่ต่อจากนี้ “The Coverage” จะฉายภาพการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลในภาพใหญ่ สำหรับรองรับนโยบายระดับประเทศ รวมถึง ‘Health Link’ หนึ่งในแพลตฟอร์มเชื่อมข้อมูลสุขภาพของดีอีเอส ที่จะเข้าไปเชื่อมกับระบบของโรงพยาบาล และการเบิกจ่าย เพื่อเติมเต็ม 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ให้มีความสมบูรณ์

ผ่านการพูดคุยกับ รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการเฉพาะด้านฯ ดีอีเอส

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

จะไปได้ทุกที่จริง ต้อง ‘เชื่อมข้อมูล-มีมาตรฐานกลาง’

รศ.ดร.ธีรณี เริ่มด้วยการย้อนอธิบายให้เห็นว่า ‘คณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล’ มีจุดเริ่มต้นมาจากการมีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และเป็นการทำงานต่อไปจาก Big Rock 1 โดยการตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านฯ นั้นอยู่ใน พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 จึงมีการอาศัยช่องทางนี้ร่วมมือกันดำเนินงานด้านสุขภาพ ระหว่างดีอีเอส และ สธ. เนื่องจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) นั้นมีอยู่กว่า 900 แห่ง ไม่นับรวมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในสังกัดอีกว่า 4,000 แห่ง ขณะเดียวกันก็ยังมีโรงพยาบาลที่ไม่ใช่สังกัด สป.สธ. เช่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือแม้ระทั่งโรงพยาบาลเอกชนอยู่อีกจำนวนมาก  จึงมองว่าการตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านฯ เพื่อนำผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายเข้ามาพูดคุย ตกลงกันเรื่องข้อมูลสุขภาพ น่าจะทำให้เกิดการประสานงาน และเชื่อมโยงข้อมูลได้  รศ.ดร.ธีรณี อธิบายลงลึกไปอีกว่า ภายใต้คณะกรรมการเฉพาะด้านฯ นั้นมีเรื่องที่อยากทำไม่กี่ข้อ ได้แก่ การทำให้มีระบบเชื่อมโยง มีมาตรฐานข้อมูลซึ่งเป็นมาตรฐานกลาง การมีระบบอภิบาล และธรรมาภิบาล และกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA

“เพราะโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีระบบบริหารจัดการไม่เหมือนกัน ฉะนั้นจึงต้องมีมาตรฐานข้อมูลเพื่อเป็นมาตรฐานกลาง ขณะเดียวกันก็เพื่อพูดคุยว่าหากจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น ควรจะมีแฟ้มสุขภาพใด และต้องใช้โค้ดไหน ด้วยมาตรฐานไหน” รศ.ดร.ธีรณี ระบุ 

เมื่อมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ขึ้นมา สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา จึงจะทำให้คำว่าบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่เกิดขึ้นจริง

คลาวด์กลางเปลี่ยนเกม ‘เชื่อมข้อมูลได้ ‘แม้ต่างสังกัด’

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ หรือการพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย (Central Data Exchange Service) จากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) นั้น เป็นระบบแลกเปลี่ยนมาตรฐานกลางในรูปแบบมาตรฐานของข้อมูล ‘Fast Health Interoperability Resources: FHIR’ จากองค์กร Health Level Seven: HL7 ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานโลก

ขณะนี้ระบบดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการ โดยเป็นการทำงานต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้ว และได้มีการวางแนวทางมาตั้งเกิด Big Rock 1

สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นการดำเนินงานต่อเนื่อง ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง สธ. และดีอีเอส นั่นก็คือการทำ ‘MOPH Cloud’ หรือคลาวด์กลางสาธารณสุข ในการพัฒนาระบบบริการจัดการโรงพยาบาล หรือ ‘Hospital Information System: HIS on Could’ เพื่อเชื่อมระบบข้อมูลสุขภาพของโรงพยาบาล และ รพ.สต. ที่อยู่ในสังกัด สป.สธ. ไปที่คลาวด์ของเขตสุขภาพทั้ง 12 แห่ง คลาวด์กลางสาธารณสุขที่กำลังจะเกิด รศ.ดร.ธีรณี มองว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่มาก เพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดจากฝั่ง สธ. ขณะที่ รพ.สต.ที่มีการถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นั้น ขึ้นอยู่กับ อบจ. แต่ละจังหวัดว่าจะเชื่อมเข้ามาหรือไม่ หากระบบที่ใช้เชื่อมต่อได้กับมาตรฐานกลางได้ก็สามารถทำได้เช่นกัน 

“คลาวด์สาธารณสุขนั้นครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ ยังไม่นับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษ โดยจะมีโรงพยาบาลราว 800-900 แห่ง และ รพ.สต. ในสังกัดอีกกว่า 4,000 แห่ง โดยคลาวด์นี้จะทำหน้าที่ดึงข้อมูลจาก HIS มาไว้ที่คลาวด์เขต และจะแลกเปลี่ยนข้ามสังกัดก็ต่อเมื่อมีตัวกลางเข้ามาเชื่อม หากเสร็จสิ้นจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง สธ. และนอกสังกัดที่ปรับไปตามาตรฐานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล”

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

‘Health Link’ แพลตฟอร์ม ‘ไล่เชื่อม’ โรงพยาบาลนอกสังกัด

สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพนั้น หากเป็นฝั่ง สธ. จะเป็นแพลตฟอร์ม ‘หมอพร้อม’ ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลในประเทศไทยไม่ได้มีอยู่แค่สังกัดเดียว รศ.ดร.ธีรณี บอกว่าหากมองใน กทม. จะพบว่ามีโรงพยาบาลอยู่หลากหลายสังกัด ทั้งสังกัด กทม. ตลอดจนคลินิกเอกชน ฯลฯ หรือแม้จะอยู่ภายใต้ สธ. เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถานบันประสาทวิทยา ฯลฯ จะอยู่สังกัดกรมการแพทย์ สธ. ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลกับ สป.สธ.

นั่นจึงเกิดเป็นความยาก เพราะมีหลายนิติบุคคล แต่ขณะเดียวกันก็วางเป้าหมายเอาไว้แล้วว่า ‘ให้ข้อมูลเชื่อมกันได้’ หรือวางสถาปัตยกรรมเอาไว้ เพื่อให้การดึงข้อมูลเกิดขึ้นได้ในหลายบริบท

ฉะนั้น ‘Health Link’ ที่นิยามตัวเองว่าเป็น ‘สายเชื่อม’ ข้อมูลของแต่ละแห่ง จึงจะเข้ามาทำหน้าที่ในการ ‘ไล่เชื่อม’ โรงพยาบาลที่เหลือ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เข้ามาสู่ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลในแต่ละกระทรวงที่ได้รับ ‘การยินยอมแล้ว’ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ แต่จะไม่มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยไว้ในระบบ อย่างไรก็ดี ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้แก่หน่วยบริการ หรือคลินิกที่ไม่ได้มีแอปฯ ของตัวเอง เพื่อทำให้หน่วยบริการเหล่านั้นมีข้อมูลสุขภาพ (Personal Health Record: PHR) ให้ผู้ป่วยได้เพื่อใช้ในการรักษา ทั้งในหน่วยบริการ คลินิก หรือแม้กระทั่งระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine รศ.ธีรณี อธิบายต่อไปว่า การที่ Health Link ไม่มี PHR ผู้ป่วยเป็นของตัวเองนั้น เพราะจะเชื่อมกับสิ่งที่กระทรวงอื่นๆ ได้ทำไปแล้ว เช่น ThaID จากกระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่พิสูจน์ยืนยันตัวตนดิจิทัล หรือเป๋าตัง แอปฯ ที่ใช้สำหรับการให้คำยินยอม หรือลงทะเบียนไปแล้ว

เชื่อม แลก ส่งคืน ... นี่คือคอนเซ็ปต์ของ Health Link หรือจะเรียกว่าเป็นคอนเซ็ปต์ Health Information Exchange (HIE) หมายถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ ซึ่งถ้าพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น Health = HIE นั่นเอง

“เราพัฒนากลไกนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างสังกัดได้ภายใต้การทำงานตามบริบทของแต่ละคน โดยเมื่อเชื่อมแล้วจะมีการแลกข้อมูลผ่านคลาวด์กลาง และคืนข้อมูลกลับไป แต่ทั้งหมดนั้นประชาชนต้องเป็นคนยินยอม” รศ.ดร.ธีรณี ระบุ

การทำงานแบบ ‘In House’ คือจุดแข็งของ ‘Health Link’

ด้วยการทำภายในหน่วยงาน (In House) เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของ Health Link ที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ บริบท หรือนโยบาย ฉะนั้นการมีสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นจะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยบริการ และประชาชนได้ตลอด มากไปกว่านั้น แม้ว่า BDI ที่อยู่ภายใต้ดีอีเอส ซึ่งจะมีความคุ้นเคยกับกฎหมาย PDPA เป็นอย่างดี แต่เพื่อความรัดกุมและปลอดภัย ก็ยังจำเป็นต้องมีการจ้างบริษัทเอกชน (Third Party) เข้ามาตรวจเช็กเป็นระยะ รวมไปถึงมีการปรึกษากับหน่วยงานที่ดูแลเรื่อง PDPA โดยตรงอีกด้วย

เหนือสิ่งอื่นใดนั้น รศ.ดร.ธีรณี บอกว่า การเป็นคนไอที ทำให้เรื่องความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security) ของแพลตฟอร์มนั้นได้มาตรฐานทุกรูปแบบ รวมถึงมีความสมดุลที่จะส่งผลต่อการใช้งานด้วย เพราะยิ่งปลอดภัย ก็ยิ่งใช้ยาก 

“Health Link มีตัวเลือกความปลอดภัยข้อมูลอยู่มาก เราแยกถังข้อมูล ทั้งประวัติการรักษา และประวัติทั่วไป หากวันใดวันหนึ่งเกิดมีการเข้ามาแฮ็ก หากได้รายชื่อก็จะไม่เห็นประวัติ หรือหากเห็นประวัติก็จะไม่รู้รายชื่อ เพราะเรามีการเข้ารหัสแยก และจะจับมาชนกันก็ต่อเมื่อมีการส่งข้อมูล”

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ ‘การไม่ถูกแฮ็ก’ ไม่สามารถการันตีได้ แต่สิ่งที่ใช้ก็เป็นไปตามมาตรฐานโลกทั้งหมด โดยมีการทดสอบระบบอยู่เป็นประจำเพื่อหาช่องโหว่ อย่างการจ้างบริษัทเอกชนเพื่อดูว่าข้อมูลที่เชื่อมต่อนั้นตรงกันหรือไม่ และในอนาคตก็จะมีการจ้างแฮ็กระบบตัวเอง เพื่อให้เห็นรอยรั่วที่เกิดขึ้นในระบบอีกด้วย อีกหนึ่งสิ่งที่ รศ.ดร.ธีรณี มองว่าเป็นระบบความปลอดภัยอีกขั้น คือการที่ ‘Health Link’ ไม่ได้เก็บถังข้อมูลผู้ป่วยไว้กับตัวเอง เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นหน้าที่ของแพลตฟอร์มคือการเป็นตัวเชื่อมเท่านั้น นั่นทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ (เฉพาะการจัดการของระบบ) ดูไม่ยั่วยวนชวนให้แฮ็กขนาดนั้น 

“ที่เราไม่ได้เก็บเพราะแต่ละโรงพยาบาลจะมีนโยบายการเก็บข้อมูลเป็นของตัวเอง และผ่านการเชื่อมโยง หรือ Exchange Zone ที่โค้ดของแพลตฟอร์มเพื่อป้องกันการล่มของระบบ และแน่นอนว่า Exchange Zone ก็อยู่ที่โรงพยาบาล แต่ถ้าโรงพยาบาลไหนไม่อยากทำ และคุยกันแล้วพบว่าระบบโรงพยาบาลสามารถดึงข้อมูลได้ภายในหลักวินาทีก็ไม่จำเป็น ซึ่งส่วนนี้เป็นข้อดีของความยืดหยุ่น แต่ถึงอย่างไรการขอตั้ง Exchange Zone ก็เป็นความสำคัญลำดับแรกๆ ที่แนะนำ”

เชื่อมสภาวิชาชีพ ยืนยันตัวตนบุคลากร

การเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยนั้น แพทย์จะสามารถเข้าดูได้ก็ต่อเมื่อมีการยืนยันตัวตน ซึ่งสิ่งที่ Health Link ทำก็คือการ ‘เชื่อมแพลตฟอร์มเข้ากับระบบของแพทยสภา ผ่านการดูเลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม และพินโค้ดเพื่อนำมาประกอบการตรวจสอบว่าผู้ที่กำลังจะดูข้อมูลนั้นเป็นแพทย์จริงหรือไม่

หากในอนาคตแพทยสภาจะเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตนแพทย์ใหม่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะแพลตฟอร์มจะยังสามารถขอ และตรวจสอบได้

สาเหตุที่ Health Link เลือกจะเชื่อมกับสภาวิชาชีพโดยตรงนั้น รศ.ดร.ธีรณี อธิบายว่าข้อมูลจากสภาวิชาชีพเป็นข้อมูลที่เชื่อถือมากที่สุด เพราะในแต่ละวิชาชีพจะมีใบประกอบฯ มากไปกว่านั้นบางวิชาชีพใบประกอบฯ จะต้องมีการต่ออายุ ฉะนั้นแล้ว การเชื่อมแพลตฟอร์มเข้ากับระบบของสภาวิชาชีพ จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง และมีการอัปเดตอยู่เสมอ เนื่องจากสภาวิชาชีพเป็นผู้ถือทะเบียนอยู่ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ก็ได้มีการพูดคุยเพิ่มเติมกับสภาเภสัชกรรม เนื่องจากยังมีเภสัชกรที่อยู่ในโรงพยาบาลอาจจำเป็นต้องเปิดดูข้อมูล หรือประวัติผู้ป่วยก่อนการจ่ายยา รวมถึงร้านยานอกเหนือจากที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่นั้น ร้านยาเหล่านี้ก็สามารถเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ได้ คาดว่าอีกไม่นานก็คงจะมีการเชื่อมแพลตฟอร์มยืนยันตัวตนเข้าไป ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งวิชาชีพที่จำเป็นต้องทราบข้อมูลของผู้ป่วย นั่นก็คือ ‘ทันตแพทย์’ เนื่องจากมีผลโดยตรงในการให้บริการ เช่น จำเป็นต้องทราบว่าผู้ป่วยมีประวัติการรับประทานยาละลายลิ่มเลือดหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการพูดคุยทันตแพทยสภาแล้ว

ทั้งหมดทั้งมวล จึงต้องมีการคุยกับสภาวิชาชีพเพื่อหาจุดตรงกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

เมื่อพูดถึงการยืนยันตัวตนของคลินิก หรือร้านยานั้น รศ.ดร.ธีรณี ระบุว่า Health Link จะเข้าไปเชื่อมกับระบบ AMED ของ สปสช. เนื่องจากระบบดังกล่าวนั้นเป็นระบบที่คลินิก หรือร้านขายยาต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อเบิกจ่าย รวมถึงการให้ความยินยอมของประชาชนที่แพลตฟอร์มได้มีการเชื่อมต่อผ่านแอปฯ เป๋าตัง และ ThaID อยู่แล้ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนอีก

“สิ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาวได้ คือความยืดหยุ่น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Health Link ถึงเป็นฝ่ายไล่เชื่อม”

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

เริ่มนำร่องใน กทม. เตรียมพร้อมก่อนนโยบายขยายทั้งประเทศ

รศ.ดร.ธีรณี อธิบายว่า คณะนี้แพลตฟอร์ม Heath Link เองสามารถเชื่อกับโรงพยาบาลสังกัด กทม. จำนวน 11 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) จำนวน 69 แห่ง โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์เกือบทั้งหมด รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่น ร้านยา ฯลฯ แล้ว ทำให้ขณะนี้เป้าหมายของ Health Link คือการทำให้พื้นที่ กทม. สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารักษาได้ทุกที่ รวมถึงการเชื่อมแพลตฟอร์มเข้ากับระบบ HIS โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์สามารถดูข้อมูลสุขภาพที่ผ่านการยินยอมแล้วในการรักษาได้ รวมถึงเชื่อระบบ AMED ของ สปสช. ด้วยเช่นกัน

“ในเดือน มี.ค. นี้เราจะเริ่มนำร่องกันใน Bangkok Health Zone 3 และคาดว่าจะขยายไปทั่ว กทม. (ทั้งหมด 7 โซน) เร็วๆ นี้”

สำหรับสาเหตุที่เริ่มจาก กทม. นั้น ก็เพราะความหลากหลายของสังกัด และนิติบุคคล รวมถึงความแตกต่างของระบบ HIS ที่อาจจะมากกว่าบางจังหวัดในประเทศไทย ฉะนั้นการทำงานในพื้นที่ กทม. จึงเปรียบเสมือนการทำงานใน 1 จังหวัดนั่นเอง การดำเนินงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวในพื้นที่ กทม. นั้นมีอยู่ 3 เรื่องหลัก คือการเชื่อมแพลตฟอร์มเข้ากับ สปสช. สำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย กทม.

“เราคือขาเชื่อม ซึ่งปัจจุบันเราเชื่อมข้อมูลออก แต่จะตามใจไม่ได้ เราจะต้องไปตามข้อมูลของผู้ป่วย ซึ่งก่อนจะวางแผนว่าจะไปทางไหนนั้น เราต้องเชื่อมข้อมูลให้ได้”

สิ่งที่สำคัญคือการ ‘ยินยอม’ ของประชาชน เพราะส่วนนี้จะนำไปสู่การใช่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินได้ โดยระบบจะเชื่อมข้อมูลเพื่อให้แพทย์สามารถเปิดดูข้อมูลได้ และจะปิดภายใน 72 ชั่วโมง อิงตามการรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (UCEP) รวมไปถึงอาจนำไปสู่การใช้รักษาผ่านระบบ Telemedicine ได้ด้วย

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

live casino online 888 casino online dragon tiger casino online sport casino online cá cược thể thao châu á