bắn cá long vương download

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

bắn cá long vương downloadLiên kết đăng nhập

ผอ.สำนักจัดระบบบริการฯ สปส. เผยได้ขยายเวลาให้ผู้ประกันตนที่ต้องผ่าตัด “5 โรค” สามารถเข้ารับหัตถการที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ ที่มีความร่วมมือกับ สปส. ออกไปถึงเดือน มิ.ย. 2567 พร้อมเล็งพิจารณาเป็นบริการถาวรหลังมีเสียงตอบรับดี แต่ยังต้องรอประเมินผล


น.ส.ปาริฉัตร จันทร์อำไพ ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ และรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยกับ “The Coverage” ตอนหนึ่งว่า แม้ประกันสังคมยังไม่มีนโยบายให้ผู้กันตนไปรักษาที่ไหนก็ได้ แต่มีการให้ผู้ประกันตนที่ป่วยใน 5 โรค สามารถทำหัตถการที่ไหนก็ได้ในโรงพยาบาลที่ได้มีการทำความตกลงร่วมมือกับ สปส.

สำหรับ 5 โรค ได้แก่ ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ, ผ่าตัดลอดเลือดสมอง, ผ่าตัดก้อนในเต้านม กรณีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ผ่าตัดก้อนเนื้อในมดลูก ไม่จำเป็นต้องป่วยมะเร็ง และผ่าตัดนิ่วในไต หรือถุงน้ำดี ซึ่งเป็นโรคที่มีสถิติการผ่าตัดสูงสุดของผู้ประกันตน  อย่างไรก็ดี การให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถเข้ารับหัตถการ หรือผ่าตัดได้ใน 5 โรคนี้ ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่ สปส. มอบให้แก่ผู้ประกันตนตั้งแต่ในปี 2566 ซึ่งในตอนแรกมีระยะเวลาโครงการเพียง 6 เดือน แต่ด้วยเสียงตอบรับเป็นไปในทิศทางที่ดีของผู้ประกันตน ทำให้มีการพิจารณาขยายโครงการจนถึงเดือน ธ.ค. 2566 และได้ขยายต่อไปจนถึงเดือน มิ.ย. 2567 เพื่อให้ผู้ประกันได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ซึ่งตลอดการดำเนินโครงการมีผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดแล้วกว่า 1 หมื่นราย บนงบประมาณราว 700 ล้านบาท “หลังผ่านสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่ายังมีเคสที่รอผ่าตัดค้าง และมีระยะเวลารอคอยในการผ่าตัดเกินเดือนเป็นส่วนมาก เลยมีการออกโครงการมาเพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัด เหมือนเป็นการกระจายทรัพยากรให้เข้าไปใช้โรงพยาบาลที่สามารถดูแลได้ แต่หลังจากได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ประกันตน คณะกรรมการการแพทย์ก็เริ่มมองว่า หากให้ดีก็ควรเป็นโครงการถาวร ด้วยการให้เป็นบริการตามสิทธิปกติ เพื่อทำให้สะดวกมากขึ้น แต่ก็ยังตอบอะไรไม่ได้ ต้องประเมินผลก่อน ซึ่งเราก็มีการติดตามเรื่อยๆ” น.ส.ปาริฉัตร กล่าว น.ส.ปาริฉัตร กล่าวว่า การเข้ารับบริการ ประชาชนสามารถใช้ผลวินิจฉัยจากโรงพยาบาลตามสิทธิ โดย สปส. ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับโรงพยาบาลเอาไว้แล้ว ซึ่งส่วนนี้โรงพยาบาลตามสิทธิสามารถให้คำแนะนำได้ หากไม่สามารถให้การผ่าตัดได้ภายใน 15 วัน หรือผู้ประกันตนเองก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของ สปส. ได้เช่นกัน เพราะเป้าหมายคือเมื่อผู้ประกันตนได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าจำเป็นต้องผ่าตัด ก็ควรได้รับการผ่าตัดภายใน 15 วัน  อย่างไรก็ดี เนื่องจากโรงพยาบาลประกันสังคมส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลขนาดทุติยภูมิ ระดับ 100 เตียงขึ้นไป อาจจะทำให้ผู้ประกันตนยังไม่สามารถเข้ารับการรักษาทุกที่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน หากผู้ประกันตนไม่สะดวกเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ โรงพยาบาลนั้นๆ ก็จะมีสถานพยาบาลเครือข่าย เช่น คลินิก รองรับเช่นกัน   ขณะเดียวกัน คณะกรรมมการการแพทย์ สปส. มีความกังวลเรื่องความแม่นยำในการวินิจฉัย จึงอยากให้ผู้ประกันตนเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลตามสิทธิก่อน เพราะการวินิจฉัยยังอยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนั้นๆ และ สปส. ยังสามารถควบคุม กำกับ ดูแลโรงพยาบาลคู่สัญญาได้
live casino online 888 casino online dragon tiger casino online sport casino online cá cược thể thao châu á